โอกาสของธุรกิจไทยมัดใจแรงงานเมียนมา – Natty loves Myanmar x Happio

Posted byNatthida Jankaew Posted onMarch 19, 2024 Comments0

ตอนเด็กๆหลายๆคนคงเคยเรียนวิชาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพม่า หรือ เมียนมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงครามไทย พม่า หรือ เรื่องทองที่เจดีย์ชเวดากองเป็นทองมาจากกรุงศรี แนทตี้ก็เป็นหนึ่งในเด็กไทยที่โตมากับการได้ยินเรื่องเหล่านี้ ไม่เคยมีความเกี่ยวข้องกับประเทศเมียนมา ไม่เคยไป และไม่มีคนที่รู้จักเป็นคนเมียนมา จนกระทั่งเรียนจบ ได้มีโอกาสมาทำงานเป็นนักข่าวภาคภาษาอังกฤษ ช่องอาเซียนทีวี ในเครือเนชั่น และได้รู้จักพม่า หรือ เมียนมามากขึ้น จนเป็นแรงบันดาลใจให้ไปตามหาและทำความรู้จักกับคนเมียนมาคนแรกในชีวิต ที่นำไปสู่การไปเยือนเมียนมาครั้งแรกเมื่อปี 2012

สมัยนั้นเมียนมาเพิ่งเปิดประเทศ มีผู้นำประเทศเป็นพลเรือน (ถึงแม้ว่าจะเป็นทหารเก่าก็ตาม) แต่ยังมีกลิ่นไอ แบบสมัยยังปิดประเทศอยู่ เช่น ไฟฟ้าที่ยังไม่เพียงพอ ทำให้ไฟดับอยู่เรื่อยๆ แท็กซี่ที่เก่าและไม่เปิดแอร์ สัญญาณอินเทอร์เนทยังไม่ดี และจำกัดการใช้ ซิมการ์ดแพงและหายาก แต่ทริปนั้นกลับทำให้แนทตี้มีความคิดเกี่ยวกับประเทศเมียนมาเปลี่ยนไป จะมีกี่ประเทศในอาเซียนกันที่ผู้คนยังใส่ชุดท้องถิ่นในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในยุคปัจจุบัน หรือการยึดถือในขนบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด การยึดมั่นในศาสนาพุทธ ความอัธยาศัยดี พอบอกว่ามาจากประเทศไทย คนเมียนมาจะคอยช่วยเหลือเราอย่างดี

และหลังจากทริปนั้นแนทตี้ก็พยายามหาโอกาสเดินทางไปเมียนมาเพื่อการทำข่าวอยู่ตลอด เพราะเป็นช่วงที่เมียนมากำลังบูมด้านการค้า การลงทุน เป็นที่สนใจของนักธุรกิจ นักลงทุนจากทั่วโลก ช่วงที่ความเจริญหลั่งไหลเข้าเมียนมา พอถึงจุดหนึ่งพบว่าการที่เราเดินทางไปๆมาๆ สูงสุดอยู่ได้ 14 วัน ทำให้เราเห็นมุมมองด้านเดียว ไม่ได้เข้าใจเมียนมาอย่างลึกซึ้งนัก แนทตี้อยากรู้จักเมียนมา และคนเมียนมามากขึ้น อยากเข้าใจในวัฒนธรรม ระบบความคิด พฤติกรรมการบริโภค ต่างๆ เลยตัดสินใจลาออกจากงาน ย้ายถิ่นฐานไปทำงานอยู่ประจำที่เมียนมาในปี 2014

ตั้งแต่ไปอยู่ แนทตี้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง การพัฒนาของประเทศอย่างก้าวกระโดด และการที่คนเมียนมาปรับตัวให้ทันกับโลกยุคสมัยใหม่ ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆได้อย่างรวดเร็ว Lifestyle ที่เปลี่ยนไป จากสังคม analog สู่ digital เพียงเวลาไม่กี่ปี หลังจากมีการประกาศลดราคาซิมการ์ดที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เนทได้อย่างง่ายดาย บริการอย่าง Uber, Grab, FoodPanda ที่เข้ามาอำนวยความสะดวกให้ชีวิตคนเมียนมามากขึ้น การใช้ชีวิตอยู่บนอินเทอร์เนทมากขึ้น โดยเฉพาะ Facebook ของคนเมียนมาทำให้เกิดเหล่าบรรดา influencers หรือแม้แต่การ live สดขายของขึ้นในเมียนมา ไปจนถึงการขายของบนเว็บไซต์ e-commerce สินค้าจากต่างประเทศที่หลั่งไหลเข้ามา โดยเฉพาะสินค้าไทยที่เป็นที่นิยมของคนเมียนมา รวมทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ ผับ บาร์ โรงแรมที่เปิดใหม่มากมายกระจายทั่วเมืองใหญ่

เรียกได้ว่าคนเมียนมาโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ปรับไลฟ์สไตล์ให้ทันทัดเทียมกับนานาประเทศ ประเทศกำลังเดินหน้าไปด้วยดีจากการพัฒนาในแทบทุกด้านจนกระทั่งปี 2020 สถานการณ์โควิดทำให้การพัฒนาต่างๆหยุดชะงัก เกิดสภาวะขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต เศรษฐกิจแย่ลง และสิ่งที่ทำให้เมียนมาแย่ลงไปอีก คือเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี 2021 ส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ เกิดการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เนท การต้องออกมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การค้า การลงทุนจากต่างชาติที่หยุดชะงัก หลายบริษัทตัดสินใจปิดกิจการ ค่าเงินผันผวน สินค้าราคาแพงขึ้น งานที่หาทำยากขึ้น ไฟฟ้า พลังงานที่กลับมาไม่พอใช้อีกครั้ง
และจากเหตุการณ์ที่กล่าวมา ทำให้เกิดการออกนอกประเทศของชาวเมียนมาแทบจะทุกระดับ เพื่อการแสวงหาโอกาสให้ชีวิตที่ดีกว่า หนึ่งในประเทศที่คนเมียนมาเดินทางมามากที่สุดคือ ประเทศไทย เนื่องจากเรามีพรมแดนติดต่อกันกว่า 2 พันกิโลเมตร

ปัจจุบันตัวเลขอย่างเป็นทางการของกระทรวงแรงงานระบุว่ามีแรงงานเมียนมาที่ขึ้นทะเบียนประมาณ 1.8 ล้านคน แต่คาดกันว่า ตัวเลขที่แท้จริงของแรงงานเมียนมาในไทยอาจสูงถึงกว่า 6 ล้านคน กระจายอยู่ทั่วประเทศ และตัวเลขของแรงงานเมียนมาเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองไทยก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การเพิ่มขึ้นของจำนวนแรงงานเมียนมาที่ย้ายมาอยู่ในไทย เป็นประตูบานใหม่ของโลกธุรกิจที่น่าจับตามอง

แรงงานเมียนมาในไทยมีความจำเป็นต้องกินต้องใช้ ต้องการการสื่อสารติดต่อกับคนที่เขารักในเมียนมา รวมถึงการส่งเงินกลับไปช่วยครอบครัว และด้วยจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของแรงงานที่เข้ามาในไทย ถือเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจไทยในการเจาะตลาดกลุ่มแรงงานเมียนมา

แต่คำถามก็เกิดขึ้นว่าจะทำอย่างไรถึงจะเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้?

จากประสบการณ์การไปใช้ชีวิตอยู่ และทำงานในเมียนมามาหลายปี หัวใจหลักที่สำคัญในการเจาะตลาดกลุ่มนี้ คือความเข้าใจในความเป็นคนเมียนมาที่มีความหลากหลายในเรื่องชาติพันธุ์ การสื่อสารภาษาเดียวกันกับพวกเขา และนอกจากนี้คนเมียนมาในไทยทุกวันนี้ก็มีหลากหลายกลุ่มมากกว่าในอดีต เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจตามที่กล่าวมา ทำให้ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจเมียนมา คนที่ต้องการเรียนต่อหรือหางานระดับกลาง-สูง ต่างก็พากันโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่เมืองไทย คนเมียนมาแต่ละกลุ่มมีไลฟ์สไตล์และความต้องการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

1. กลุ่มแรงงาน
– ทำงานโรงงาน
– ก่อสร้าง
– แม่บ้าน
– รับจ้างอื่นๆ
กลุ่มแรงงานส่วนใหญ่สื่อสารได้เฉพาะภาษาเมียนมา หรือภาษาของชาติพันธุ์ตนเองเป็นหลัก คนที่อยู่มานานแล้วจะพอสื่อสารภาษาไทยได้ พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำงานเก็บเงิน ส่งเงินกลับบ้าน จึงมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่ราคาสมเหตุสมผล ที่สำคัญคือการบริการหรือการตลาดในภาษาที่พวกเขาคุ้นเคย จะเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาไว้วางใจและสบายใจ

 

2. กลุ่มคนที่ไม่ใช่แรงงาน
กลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี แต่ภาษาเมียนมาก็ยังเป็นภาษาที่เข้าถึงหลาย ๆ คนได้ดีกว่า และดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ในกลุ่มนี้ก็ยังแบ่งย่อยออกไปได้อีกดังนี้
– กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย และพนักงานบริษัท การใช้จ่ายหลักมักจะเป็นคอนโดเช่าอยู่อาศัยใกล้สถานศึกษาหรือที่ทำงาน รวมถึงคอร์สเรียนเสริมทักษะต่าง ๆ
– กลุ่มเจ้าของธุรกิจ SME เช่น บริการจัดหาแรงงาน ร้านอาหาร ค้าขาย กลุ่มนี้มีความต้องการเช่าหรือซื้อที่พักอาศัย โดยมักจะอยู่บริเวณที่มี community ของคนเมียนมา
– กลุ่มนักลงทุนและเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง ต้องการซื้อคอนโด ซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเพื่ออยู่อาศัยหรือลงทุน มักจะมองหาไลฟ์สไตล์ใจกลางเมือง

จะเห็นว่าแต่ละกลุ่มอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมที่ต่างกัน และมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่างกันด้วย ทำให้การทำการตลาดในแต่ละกลุ่มต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ที่เฉพาะทาง การเจาะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จะทำได้ง่ายขึ้นถ้าเรามีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย ซึ่ง Happio บริษัทการตลาดออนไลน์ (Digital) และออฟไลน์ (Activation) มีประสบการณ์กว่า 8 ปีในการทำการตลาดกับคนเมียนมา ลงพื้นที่ศึกษา เข้าใจคนเมียนมาในไทยเป็นอย่างดี มีทีมงานทั้งคนไทยและคนเมียนมาที่รู้รอบ รู้ลึก รู้จริง พร้อมจะช่วยธุรกิจไทยสื่อสาร ทำการตลาดให้โดนใจคนเมียนมาได้ง่ายขึ้น


ทีมงาน Digital Myanmar Content Marketing ของ Happio

รู้รอบด้านไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมการบริโภคของคนเมียนมา รู้ลึกในการทำคอนเทนต์ภาษาพม่าให้ถูกต้องและโดนใจ รู้จริงด้านการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด พร้อมช่วยธุรกิจไทยให้เจาะตลาดเมียนมาในไทยได้สำเร็จ

 

งาน “Migrant Day ของ LPN ที่มหาชัย” ที่มีทีม Activation ของ Happio ช่วยสนับสนุน

 

งาน “ปีใหม่ไทใหญ่ ที่สนามกีฬาธูปะเตมีย์” ที่มีทีม Activation ของ Happio ช่วยสนับสนุน

 

สำหรับผู้ที่สนใจ Happio แฮปปี้ที่จะให้คำปรึกษาฟรี !!! ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  แวะไปได้ที่ออฟฟิศ Happio เลย อยู่ถนนปั้น ซอยเดียวกับสถานทูตเมียนมา หรือติดต่อได้ทาง admin@happioteam.com หรือโทร 084 770 8889

เขียนโดย คุณ Natty loves Myanmar

 

อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับการตลาดเมียนมา

อัปเดต Influencer ชื่อดังในประเทศพม่า

Top 10 Digital Marketing Agencies in Myanmar and How to Choose the Right One for You

Thailand’s Real Estate: The Second Home of Myanmar’s Investors and Families

Myanmar Migrants: The Significant Opportunity for Pharmaceutical Industry in Thailand

 

Facebook Comments
Category