การเปลี่ยนผ่านของ ผู้บริโภคในเมียนมา สู่การสื่อสารผ่านช่องทางใหม่ๆ

Posted byHappio Team Posted onApril 8, 2019 Comments0
ผู้บริโภคในเมียนมา

เมื่อ ผู้บริโภคชาวเมียนมา ปรับพฤติกรรมไปเสพสื่อและใช้งานช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ

ภาพรวม

การเติบโตทางเศรษฐกิจได้นำพาให้การเกิดขึ้นของชนชั้นกลางเพิ่มสูงขึ้นรวมถึงมีอัตราการบริโภคต่อหัวสูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมภาคบริการ เช่น โรงเรียนเอกชนและธุรกิจบันเทิง ในกระบวนการการเปิดตัวและเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้บริโภคในเมียนมา ในเมืองใหญ่ก็เริ่มมีความต้องการที่จะมีตัวตนในสังคมและแนวทางการใช้ชีวิตที่ชัดเจน จากเดิมที่ใช้ชีวิตและบริโภคตามความจำเป็นเท่านั้น

พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยและความพึงพอใจในตัวแบรนด์

เวลาที่คนเมียนมาซื้อสินค้าจำพวกเครื่องดื่ม ยาสูบ ลูกอม อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย จะให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัยหลักๆ คือ รสชาติ คุณภาพ และราคา ในขณะที่เมื่อซื้อเครื่องใช้ในครัวเรือน จะให้ความสำคัญกับอายุการใช้งานและเทคโนโลยี เพราะไม่อยากจะซื้อใหม่บ่อยๆ และต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานเทคโนโลยีใหม่บ่อยๆ

ราคาจึงยังเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาแต่ไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญที่สุด

โดยทั่วไปแล้ว ผู้บริโภคจะลดความอ่อนไหวต่อราคาลงเมื่อซื้อเครื่องใช้ในครัวเรือน ด้วยตัวเลือกที่มีเพิ่มขึ้นแม้จะยังมีจำกัดอยู่บ้าง ประกอบกับการการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ามากขึ้นทำให้ราคาไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวในการตัดสินใจซื้อ ผู้คนนั้นเริ่มจะซื้อของตามแนวทางการใช้ชีวิตส่วนตัวและไม่ใช่เพียงแค่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานเท่านั้น

การที่ผู้บริโภคชาวเมียนมายังคงภักดีกับสินค้าเดิมๆ อยู่เพราะมีตัวเลือกจำกัด ประกอบกับสินค้าท้องถิ่นได้เปรียบเรื่องความคุ้นเคยและราคาที่ถูกกว่า อย่างไรก็ตามผู้บริโภคในย่างกุ้งนั้นมีโอกาสได้พบเจอสินค้านำเข้ามากกว่าจึงเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้สินค้านำเข้ามากขึ้น

สินค้าไทยกลุ่มเครื่องดื่ม ลูกอม อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ได้รับความนิยมอย่างสูงเพราะมีราคาไม่สูง คุ้มค่า และหาซื้อได้ไม่ยาก รองจากไทยคือ สินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นกลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือนได้รับความนิยมเพราะคุณภาพสูง ขณะที่แบรนด์จากเกาหลีเป็นที่นิยมในกลุ่มคนอายุน้อยเพราะได้รับอานิสงส์จากความชื่นชอบละครและวัฒนธรรมป๊อปเกาหลี โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางและเครื่องใช้ในบ้านที่เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มวัยรุ่น แบรนด์จากชาติตะวันตกที่ได้รับการยอมรับจะเป็นกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบซึ่งในสายตาคนเมียนมามองว่ามีคุณภาพชั้นเลิศ ส่วนสินค้าจากจีนนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นคนที่อ่อนไหวต่อราคามากๆ และมีทางเลือกจำกัด ซึ่งก็จะถูกมองว่าเป็นสินค้าคุณภาพต่ำ ไม่ค่อยปลอดภัย

ช่องทางการซื้อสินค้า

โดยทั่วไปแล้ว ร้านโชห่วยและแผงขายสินค้ายังเป็นช่องทางการขายหลักเนื่องด้วยผู้บริโภคเข้าถึงง่ายและของมักจะมีราคาต่ำ ผู้บริโภคชาวเมียนมาในชนบทมักจะคิดว่าร้านค้าและแผงขายของแบบดั้งเดิมมีสินค้าที่สดกว่าเพราะร้านเล็กๆ มีการหมุนเวียนสินค้าเร็วกว่า ไม่ต้องเก็บสต๊อกสินค้านานเหมือนในซุปเปอร์มาร์เก็ต และยังให้ราคาที่ถูกกว่าอีกด้วย ในอีกทางหนึ่ง การขยายตัวของผู้บริโภคในชุมชนเมืองที่ชื่นชอบการเดินเข้าโมเดิร์นเทรดก็จะให้ความสำคัญกับความหลากหลายของสินค้าและการบริการ

การสำรวจของ Deloitte’s Myanmar Consumer Survey (2016) บ่งชี้ว่าร้อยละ 93 ของผู้ตอบแบบสอบถามในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์เลือกที่จะเข้าร้านโชห่วย และร้อยละ 51 ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ต อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงในด้านความน่าเชื่อถือของตลาดรูปแบบใหม่นี้ก็แผ่กระจายไปในวงกว้างเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป

ชื่อเสียงด้านการนำเสนอสินค้ามีคุณภาพและความน่าเชื่อถือทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการช่องทางโมเดิร์นเทรด เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตและโชว์รูมของแบรนด์มากขึ้น การขาดการรับประกันคุณภาพสินค้าและสินค้าที่ลักลอบนำเข้าทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมซื้อสินค้าในโมเดิร์นเทรดและเป็นที่นิยมอย่างมากในการซื้อเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านที่มีราคาสูง ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคมีแนวโน้มจะซื้อแป้งทำอาหารและผงชูรสในซุปเปอร์มาร์เก็ตเพราะกลัวร้านค้าแบบดั้งเดิมแอบเปลี่ยนเอาของปลอมมาขาย

ช่องทางการสื่อสาร

ในประเทศเมียนมาการบอกต่อกันปากต่อปากยังคงเป็นช่องทางการสื่อสารที่น่าเชื่อถือที่สุดเพราะลักษณะทางวัฒนธรรมที่ความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นเรื่องจำเป็นต่อการทำธุรกิจ ส่วนใหญ่แล้ว ผู้บริโภคในเมียนมา จะรู้จักสินค้าผ่านการบอกต่อจากเพื่อน เพื่อนร่วมงาน และญาติพี่น้อง คนเหล่านี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า

นอกจากนี้ สื่อดั้งเดิมอย่างโทรทัศน์และป้ายบิลบอร์ดก็ยังเป็นสื่อสำคัญในการเข้าถึงผู้บริโภคที่หลากหลายที่ยังใช้เวลาเสพสื่อโทรทัศน์และบนท้องถนนอยู่นานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมือง ส่วนสื่อวิทยุและสิ่งพิมพ์นั้นลดความนิยมลงในเมืองใหญ่ แต่ยังเข้าถึงประชาชนในชนบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้โซเชียลมีเดียกลายเป็นช่องทางใหม่ในการเข้าถึงผู้บริโภค  

ในปี 2017 ประเทศเมียนมามีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 33 ล้านเลขคน โดยเป็น Smart Phone ร้อยละ 88 และมีผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน Viber (Chat Application) ถึง 18 ล้านคน

ช่องทางการทำตลาดทางตรงซึ่งรวมถึงงานอีเวนท์และการทำประชาสัมพันธ์ ณ จุดขาย เช่น ลดราคา, ชิงโชค, ให้ของขวัญ ก็กลายเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้บริโภคชาวเมียนมา ทำให้เป็นวิธีการสร้างรีวิวที่ดีรวมถึงการบอกต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้จำหน่ายสินค้าแอลกอฮอล์และยาสูบจึงมักจะใช้วิธีการทำตลาดทางตรงนี้เพราะไม่สามารถทำการตลาดผ่านช่อทางการสื่อสารหลักได้ เนื่องจากเป็นทางเดียวที่จะทำให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าก่อนจะตัดสินใจซื้อ ในการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ ผู้จำหน่ายสินค้าแอลกอฮอล์และยาสูบจะเน้นทำประชาสัมพันธ์ ณ จุดขาย, โปรโมชั่นลดราคา และเข้าไปสนับสนุนงานอีเวนท์เป็นหลัก และปัจจุบันจะทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์อีกทางหนึ่ง

การทำประชาสัมพันธ์ ณ จุดขายนั้นมีประสิทธิภาพสำหรับสินค้าคุณภาพสูง เช่น เครื่องใช้และของตกแต่งบ้านที่มีราคาสูงเช่นกัน ซึ่งผู้บริโภคมักจะมองหาโปรโมชั่นลดราคาหรือชิงโชคอยู่เสมอ

 

เกี่ยวกับแฮปปิโอ้

แฮปปิโอ้เป็นผู้ให้บริการด้านการทำตลาดครบวงจรในประเทศเมียนมาและกลุ่มประเทศ CLMV โดยอยู่ในเครือของอินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ  เราเชื่อมั่นในการสื่อสารที่ดี การร่วมกันสร้างสรรค์ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเราได้ที่ www.happioteam.com

 

References:

Facebook Comments
Category