เมียนมานั้นเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับพ่อค้าและเจ้าของธุรกิจชาวไทยในการเข้าไปขยายตลาด

ด้วยขนาดตลาด ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ อีกทั้งแรงงานชาวเมียนมาที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้วัฒนธรรมการบริโภคสามารถไหลไปสู่ตลาดพม่าได้ง่าย

อีกทั้งในความคิดของชาวเมียนมานั้นนิยมสินค้าไทยเพราะมองว่ามีคุณภาพดี ราคาเหมาะสม

จะเห็นได้จากงานแฟร์ งานออกร้านสินค้าไทยในย่างกุ้ง เช่น งาน Myanmar FoodBev & Retail Sourcing Expo, งาน Top Thai Brand ที่มีชาวเมียนมามาเดินชมงานกันอย่างล้นหลาม และหากลงไปดูในตลาดสดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตก็จะพบสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีฉลากภาษาไทยอยู่มากมาย

ซึ่งสินค้าที่ปรากฏอยู่ในตลาดนั้น มีทั้งการนำเข้ามาอย่างถูกต้องจากผู้ผลิตในเมืองไทยผ่านทาง Local Distributor และการไหลเข้ามาผ่านทางชายแดนโดยเครือข่ายการค้าท้องถิ่น (เราพบสินค้ากลุ่มนี้ได้แม้กระทั่งใน Modern Trade)

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ต้องการลุ้นว่าจะมีสินค้าไหลเข้ามาเองตามยถากรรมไหม ก็จำเป็นที่จะต้องหาตัวแทนจำหน่ายท้องถิ่นหรือ Local Distributor ที่จะช่วยกระจายสินค้าของเราไปถึงร้านค้าและ End Consumer ใน Segment ต่างๆ

การเลือก Local Distributor นั้นเป็นเรื่องสำคัญและเป็นจุดตัดสินชี้ขาดเบื้องต้นว่าสินค้าเราจะรอดหรือร่วงในตลาดเมียนมา โดยเฉพาะหากเราไม่ได้เข้าไปตั้งออฟฟิศหรือจดทะเบียนบริษัทเองในเมียนมา ซึ่งก็เป็นเรื่องใหญ่ (กฏหมายเมียนมาก็บังคับให้ต้องหาผู้ร่วมทุนที่เป็นชาวเมียนมาด้วย)

ตัวอย่างหนึ่งของความสำคัญในการเลือก Local Distributor จะเห็นได้ชัดในสินค้ากลุ่มอาหารและยา ก่อนจะขายได้ จำเป็นต้องได้รับ FDA จากรัฐบาลพม่าก่อน ซึ่งโดยปกติแล้ว Local Distributor จะเป็นผู้ดำเนินการยื่นขอให้ นั่นหมายความว่าในอนาคตหากเราเปลี่ยน Distributor ก็ต้องทำเรื่องใหม่ หรือขอให้ Distributor เจ้าเก่าทำเรื่องโอนย้ายมาให้

Local Distributor ในเมียนมานั้นมีเยอะพอสมควร มีให้เลือกทั้งรายใหญ่และเล็ก และหลายๆ เจ้าคุ้นเคยกับสินค้าไทยดีอยู่แล้ว แต่ละเจ้าจะมีความถนัดในช่องทางการจัดจำหน่ายและครอบคลุมพื้นที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางเจ้ามี Connection ที่ดีกับ Modern trade ก็จะมีแต่สินค้ากลุ่มคนเมืองอยู่ใน Portfolio, บางเจ้าเก่งในการเจาะตลาดทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งเดินทางค่อนข้างลำบาก ก็จะไม่สามารถเอาสินค้าลงไปกระจายในย่างกุ้งได้ดี

นอกจากการพิจารณาเรื่องความถนัดของพื้นที่และช่องทางการจัดจำหน่ายแล้ว เรายังต้องตกลงเรื่องปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละลอต, เป้าหมายและ Timeline ในการกระจายสินค้า, Margin, กำหนดราคาขายให้ร้านค้าและผู้บริโภค, กิจกรรมส่งเสริมการขายและกิจกรรมการตลาด ซึ่งมีทั้งที่ Distributor ผลักให้เจ้าของสินค้าเป็นผู้รับภาะค่าใช้จ่าย หรือ Distributor ดำเนินการเอง หรือบางเจ้าก็อาจคุยกันได้ถึงออกคนละครึ่ง

จากความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย – เมียนมา ประกอบกับนักธุรกิจไทยที่เข้าไปล้มลุกคลุกคลานและประสบความสำเร็จในตลาดเมียนมามาหลายปี ทำให้เราสามารถค้นหา Local Distributor ที่จะมาเป็น Partner ได้ง่ายมากขึ้น จากการไปออกงาน Fair เกี่ยวกับสินค้าไทยที่เมียนมา หรือติดต่อไปที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือขอคำแนะนำจากสมาคมนักธุรกิจไทยในเมียนมา (TBAM) สิ่งสำคัญคือต้องรอบคอบ คิดเผื่อความเสียหายจากการลงทุน ต้องอึดและตั้งใจจริง จึงจะไปรอดในตลาดนี้

Facebook Comments
สามารถติดต่อเรา เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับ
Marketing, Design, Web และ Application ได้ที่
  Call Us   Messenger
Unlocking growth potential

Unlocking Growth Potential in Agriculture: Expanding Your Brand in CLMV Markets

อัปเดต Influencer ชื่อดังในประเทศกัมพูชา ใครมาแรงบ้าง มาดูกัน

อัปเดต Influencer ชื่อดังในประเทศพม่า ปี 2023 ปีนี้ใครมาแรงบ้าง

Uncovering Thailand’s CLMV Hospital Market through Medical Tourism

Marketing, Myanmar, Supplementary

Exploring the Best Channels and Key Factors in Purchasing Myanmar’s Supplementary Products

Beauty Market Insight in Laos

‘A Beautiful Chance of Thai Cosmetic Brands in Laos’ Discover the Laos Beauty Market’s Secrets