ทำไมผู้ประกอบการไทยจึงควรเข้าไป ลงทุนในประเทศเมียนมา ได้แล้ว
ประเทศเมียนมานั้นได้ก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ทั้งเรื่องรูปแบบการเมืองการปกครองด้านเศรษฐกิจ การตลาด รวมไปถึงประเทศมีความสงบ รวมทั้งการ ลงทุนในประเทศเมียนมา และมีเสถียรภาพมากขึ้น
จากที่อยู่ใต้การปกครองโดยทหารก็ปรับมาสู่ประชาธิปไตยมากขึ้น จากระบบเศรษฐกิจที่ถูกควบคุมจากส่วนกลาง ก็เข้าสู่เศรษฐกิจเชิงตลาดมากขึ้น ทำให้ประเทศกำลังอยู่บนเส้นทางแห่งอนาคตที่สดใส
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้เปิดรับเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ออกนโยบายหลายๆ อย่างเพื่อสร้างความทันสมัยในภาคเกษตรกรรม ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน และพยายามขยายการส่งออกให้มากขึ้นรวมทั้งผลักดันการขยายการผลิตที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าให้เข้าสู่ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก
และความพยายามผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ ทำให้ประเทศเมียนมากลายมาเป็นหนึ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตสูงสุดในลำดับต้นๆ ของโลก และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7.1 เปอร์เซ็นต์ ต่อเนื่องไปอีก 3 ปี โดยในปี 2017 นั้น ประเทศเมียนมามี GDP โตขึ้น 6.8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับประเทศไทยที่โตขึ้น 3.7 เปอร์เซ็นต์
การที่เศรษฐกิจเติบโตแบบนี้ทำให้เกิดชนชั้นกลางมากขึ้น ทั้งหาร ลงทุนในประเทศเมียนมา รวมไปถึงการบริโภคภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่ม FMCG (Fast Moving Consumer Goods) และธุรกิจภาคบริการ เช่น โรงเรียนเอกชน ธุรกิจบันเทิง เป็นต้น
ตัวเลขการบริโภคต่อหัวที่สูงขึ้นสร้างความน่าตื่นตาตื่นใจให้บรรดาประเทศที่เป็นคู่ค้าอยากขยายตลาดมากขึ้น
สินค้า FMCG จากไทย เช่น กลุ่มเครื่องดื่ม ขนม อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะมีราคาไม่สูง คุณภาพดี และมีให้เลือกซื้อได้ง่าย
นอกเหนือจากไทยแล้ว สินค้าอุปโภคบริโภคและเครื่องใช้ในบ้านจากประเทศญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะมีคุณภาพสูง
ส่วนสินค้าจากเกาหลีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเครื่องสำอางและของใช้ในบ้านจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษในกลุ่มคนรุ่นใหม่จากอิทธิพลของเพลง หนังและละครเกาหลี
ขณะที่ชาวเมียนมายังให้การยอมรับสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบจากประเทศตะวันตกมากกว่า
สินค้าจากจีนนั้นจะมีแพร่หลายในทุกกลุ่มสินค้า แต่ก็จะขายได้ในกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อน้อยเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าคุณภาพต่ำและความปลอดภัยต่ำ
นับตั้งแต่ปี 2012 ประเทศไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
จาก 1 หมื่นกว่าล้านบาท ขึ้นเป็นเกือบ 2 หมื่นล้านบาทในปี 2017 โดยส่วนใหญ่จะสนใจในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต และการแปรรูปอาหาร ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเช่นกัน จากข้อมูลของ IMF ในปี 2016 ประเทศไทยติดหนึ่งในสามของประเทศที่ส่งออกสินค้าสู่ประเทศเมียนมามากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารอย่างเดียวก็มีมูลค่าถึง 482 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ กลุ่มยานพาหนะและเครื่องจักร และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
การค้าระหว่างสองประเทศนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2018 การค้าบริเวณชายแดนมีมูลค่า 1,330 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศเมียนมาส่งออกคิดเป็นมูลค่า 393 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้า 941.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านทางด่านทั้งหมด 7 ด่าน ได้แก่ท่าขี้เหล็ก, เมียวดี, เกาะสอง, มะริด, ทิกิ (ทวาย), มอต่อง, เชียงตุง
เรืยงลำดับการค้าบริเวณชายแดน 3 ลำดับแรก ได้ดังนี้ เมียวดี 816 ล้านเหรียญสหรัฐ มะริด 241 ล้านเหรียญสหรัฐ เกาะสอง 179 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของเมียนมาไปที่ประเทศไทย ได้แก่ สินค้าประมง เช่น ปู ปลา กุ้ง และยังมีหัวหอม งาดำ ใบชาตากแห้ง มะพร้าว และขมิ้น ขณะที่นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องจักรผลิตเครื่องสำอาง สินค้ากลุ่มอาหาร อุปกรณ์การเกษตรและรถไถจากประเทศไทย
ด้วยมูลค่าการลงทุนมหาศาลนี้ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเมียนมาเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกัน ก็มีการปรับปรุงกฏหมายด้านการลงทุนในประเทศเมียนมา (MIL) เพื่อเอื้อให้นักลงทุนนักในและจากต่างประเทศมีกระบวนการการทำการค้าและการลงุทนที่คล่องตัวยิ่งขึ้นใน 3 ส่วนหลักๆ
- ไม่จำเป็นต้องยื่นข้อเสนอการลงทุนให้คณะกรรมการการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission) ตรวจสอบและอนุมัติก่อน
- ได้รับข้อยกเว้นหรือส่วนลดทางภาษีถึง 7 ปี ตามพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุน
- นักลงทุนเมียนมาและต่างชาติสามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างสำหรับผู้ประกอบการไทยคือภาษีศุลกากรที่ถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
ในปี 2017 การขายสินค้าและบริการเมียนมาจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 5 ในขณะที่ประเทศไทยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 อย่างไรก็ตามธุรกิจในไทยนั้นต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อัตราร้อยละ 20 ส่วนในเมียนมาเสียร้อยละ 25
นอกจากนี้ ประเทศเมียนมายังเป็นสมาชิกของ AFTA (ASEAN Free Trade Area) ซึ่งตามข้อตกลงการลดอัตราภาษีศุลกากรแก่สินค้านำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT) แล้วจะต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศในกลุ่ม ASEAN ลงร้อยละ 100 ภายในปี 2018
ผู้ประกอบการไทยนั้นสนใจลงทุนในเมืองอื่นๆ นอกเหนือจากเมื่อหลักๆ เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ซึ่งรวมไปถึงการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในจังหวัดตะนาวศรีซึ่งอยู่ติดชายแดนไทยที่จังหวัดกาญจนบุรีที่ยังค่อนข้างล้าหลังอยู่
ผู้ประกอบการเหล่านั้นทำงานร่วมกับนักธุรกิจท้องถิ่นแถบทวาย มะริด และเกาะสอง ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญ อยู่ใกล้ประเทศไทย และมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า การประมง และการผลิตยางพาราอย่างมาก
ตุนตุนวิน รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเมืองมะริดได้ให้ข้อมูลว่า หอการค้าได้พากลุ่มนักธุรกิจไทยเข้าดูงานมากกว่า 50 ครั้งตั้งแต่ปี 2012
อีกทั้ง การที่ประเทศเมียนมาได้กระชับกระบวนการสำหรับนักลงทุนและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (เปิดแล้ว) เจาะพยูและทวาย (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง) ก็ช่วยเปิดรับโอกาสการลงทุนจากฝั่งไทยมากขึ้น
เขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวานั้นได้อนุมัติการลงทุนไปแล้วเป็นจำนวน 1,195.85 ล้านเหรียญสหรัฐ จากแหล่งทุน 85 แหล่ง ใน 16 ประเทศ โดย 10 แหล่งทุนจากประเทศไทยมีมูลค่าการลงทุน 125.31 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.55 ในขณะที่ภาคการผลิตมีสัดส่วนสูงที่สุดคือร้อยละ 74.50 หรือเท่ากับ 896.80 ล้านเหรียญสหรัฐ
สิทธิพิเศษที่จูงใจนักลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษให้ ลงทุนในประเทศเมียนมา มีดังนี้
สิทธิประโยชน์ภายใต้กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศ (Myanmar Foreign Investment Law)
- งดเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 5 ปี แล้วสามารถเพิ่มเวลาได้ตามผลสำเร็จของกิจการ
- ลดค่าเสื่อมราคาของสินค้าทุน
- ลดภาษีสินค้าส่งออก 50%
- จ้างแรงงานต่างชาติได้ภายใต้กฎเดียวกันกับภาษีเงินได้ในประเทศ
- ลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ เช่น การวิจัยและพัฒนา
- งดเว้นภาษีศุลกากรการนำเข้าสินค้าทุน วัสดุก่อสร้าง และวัตถุดิบ
- งดเว้นภาษีขายสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก
สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา, ทวาย และเจาะพยู
- งดเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 7 ปี ในเขตยกเว้น
- งดเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 5 ปี ในเขตส่งเสริมธุรกิจ
- ลดภาษีเงินได้ 50% ในช่วงถัดไปอีก 5 ปี ในเขตยกเว้นและเขตส่งเสริมธุรกิจ
- ลดภาษีเงินได้ 50% ในช่วงที่สามอีก 5 ปี ถ้ากำไรยังอยู่ในเงินทุนสำรองและถูกนำกลับไปลงทุนต่อภายใน 1 ปีนับจากวันที่มีเงินทุนสำรอง
- สามารถเช่าที่ดินได้สูงสุด 75 ปี
เกี่ยวกับแฮปปิโอ้
แฮปปิโอ้เป็นผู้ให้บริการด้านการทำตลาดครบวงจรในประเทศเมียนมาและกลุ่มประเทศ CLMV โดยอยู่ในเครือของอินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ เราเชื่อมั่นในการสื่อสารที่ดี การร่วมกันสร้างสรรค์ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเราได้ที่ www.happioteam.com
References:
- Asian Development Bank. (2018). Myanmar: Economy. [online] Available at: https://www.adb.org/countries/myanmar/economy
- Directorate of Investment and Company Administration. (2018). Why invest in Myanmar? [online] Available at: https://www.dica.gov.mm/en/why-invest-myanmar
- Emerging-markets-research.hktdc.com. (2018). Myanmar: Market Profile | HKTDC. [online] Available at: http://emerging-markets-research.hktdc.com/business-news/article/Asia/Myanmar-Market-Profile/mp/en/1/1X000000/1X09SI4E.htm
- Hays, J. (2018). BUSINESS AND INDUSTRIES IN MYANMAR | Facts and Details. [online] Factsanddetails.com. Available at: http://factsanddetails.com/southeast-asia/Myanmar/sub5_5g/entry-3129.html
- Hong Kong Trade Development Council., (2018). Myanmar Market Profile.
- Myanmar Business Guide. (2017). Pp.7-22.
- Myanmar Investment Commission (MIC), (2018). Myanmar Investment Guide 2018.
- The Myanmar Times. (2018). Patience key to investing in Myanmar. [online] Available at: https://www.mmtimes.com/news/patience-key-investing-myanmar.html
- Myanmar – Economic Forecasts – 2018-2020 Outlook. [online] Available at: https://tradingeconomics.com/myanmar/forecast
- The Myanmar Times. (2018). Thailand keen to retain border trade growth with Myanmar. [online] Available at: https://www.mmtimes.com/news/thailand-keen-retain-border-trade-growth- myanmar.html
- worldbank.org. (2018). Myanmar | Product | Imports | from Thailand 2016 | WITS | Data. [online] Available at: https://wits.worldbank.org/CountryProfile/en/Country/MMR/Year/2016/TradeFlow/Import/Partner/THA/Product/all-groups#
- Myanmar-Thailand border trade exceeds 1.3 bln USD in FY 2017-18 – Xinhua /English.news.cn. [online] Available at: http://www.xinhuanet.com/english/2018-03/15/c_137041337.html
- Ministry of Commerce of the Republic of the Union of Myanmar