The big data is more data?

Posted byHappio Team Posted onJanuary 28, 2019 Comments0
big data

Big Data คืออะไร หลังๆ เชื่อว่าหลายยคนจะได้ยินคำว่า Big Data เข้าหูบ่อยขึ้นเรื่องๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งส่วนงานที่เป็นส่วนของเอกชน หรือรัฐ มันจะมีการใช้อ้างอิงคำนี้ขึ้นมา ทำให้มันดูแล้วน่าสนใจ และทันสมัย ทีนี้เรารู้หรือใหม่คำว่า Big Data มันหมายถึงอะไร เราจะอธิบายเบื้องต้นให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ กัน

Big Data คือ ข้อมูลใหญ่ ใช่ มันถูกต้อง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า เป็นก้อนของข้อมูลจำนวนมาก ที่เกี่ยวของทั้งหมดแม้จะเพียงเล็กน้อยเพียงใด ซึ่ง อาจจะมีการออกแบบการเก็บข้อมูลมาหรือไม่ก็ได้ ทั้งภายในและภายนอกระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำมาทำอะไร แต่ภายในข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการประมวลผล และวิเคราะห์ได้ โดยสามารถนำมาสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้อย่างไม่น่าเชื่อ

คุณสมบัติที่จะให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถเรียกเป็น Big Data ได้ มีอะไรบ้างมาดูกัน

  1. Volume หรือ ขนาด แน่นอน ว่า Big Data ข้อมูลที่มีนั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และ
  2. Velocity หรือ การเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีความรวดเร็ว ในแต่ละนาที แต่ละวินาที มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ระบบปกติไม่สามารถตรวจสอบหรือวิเคราะห์ได้
  3. Variety หรือ มีความหลากหลาย ซึ่งข้อมูลแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้องกัน จะมีความหลายหลายของรายละเอียดของมันอยู่ ซึ่งมีแค่บางส่วนที่มีความสอดคล้องกันเท่านั้น แต่ความสอดคล้องดังกล่าวจริงๆ แล้ว มันมีข้อมูลที่มีนัยสำคัญอยู่
  4. Veracity หรือ คุณภาพของข้อมูล แน่นอน การบันทึกข้อมูลจะมีทั้งข้อมูลที่มีประโยชน์ และข้อมูลที่ไม่ได้มีประโยชน์ ปะปนกันไป ซึ่งขึ้นกับเรื่องที่เราต้องการนำมาวิเคราะห์ หรือประมวลผล ถึงจะได้ข้อมูลที่นำไปใช้ต่อได้

ทีนี้ข้อมูลใหญ่แค่นี้ ถึงจะเรียนได้ว่าเป็น Big Data ต้องบอกว่าการกำหนดว่าข้อมูลดังกล่าวเป็น Big Data หรือไม่ยังไม่ชัดเจน แต่ในปัจจุบันการยอมรับว่าข้อมูลนั้นๆ จะเป็น Big Data หรือไม่สามารถดูกันอย่างง่ายๆ คือ ข้อมูลส่วนนั้นๆ ไม่สามารถนำมาบริการจัดการได้ด้วยการจัดการแบบเดิมๆ เช่น excel หรือ spreadsheet ซึ่งโดยปกติ ถ้าข้อมูลมีเยอะขึ้นเรื่อง ทางผู้จัดการระบบ จะเริ่มให้มีการแยกประเภทของข้อมูลออกมาเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อให้ง่ายในการบริการจัดการ แต่อย่าลืมว่า คุณสมบัติของ Big Data นั้นมีทั้งหมด 4Vs ดังนั้น จะมองแค่ขนาดอย่างเดียวจะไม่สามารถทำได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น เรามีข้อมูลชื่อสินค้าอย่างเดียวทั้งหมดในโลกนี้ 5 ล้าน ชื่อ ถึงกระนั้น ข้อมูลส่วนนี้ก็ยังไม่เป็น Big Data อยู่ดี เนื่องจากไม่มีความหลากหลาย

ทีนี้ มันใช้งานยังไงล่ะ ทำไมแต่ละคนถึงสนใจมันนัก การใช้งาน Big Data นั้นต้องผ่านกระบวนการบางอย่างที่เรียกว่า  Big Data Analytics ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะดึงข้อมูลสำคัญออกจากข้อมูลขนาดใหญ่ของเรา เพื่อนำมาสร้างรูปแบบของข้อมูลรูปแบบใหม่โดนหาความซับซ้อนของข้อมูล และความเกี่ยวข้องกัน เพื่อหาแนวโน้ม เทรนด์ และข้อมูลอื่นๆ ที่น่าจะประโยชน์ต่อธุรกิจ

รูปแบบการวิเคราะห์ที่เราสามารถดึงจาก Big Data ที่เรามี จะมีแบบใดบ้างล่ะ

  1. Descriptive analytics การวิเคราะห์ข้อมูลว่า เกิดอะไรขึ้น จำนวนเท่าไร ถี่แค่ไหน ตอนไหน ตรงไหน และต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง โดยใช้เป็นสรุปข้อมูลประกอบการวางแผนธุรกิจได้
  2. Predictive analytics การวิเคราะห์ที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อประเมินว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ ซึ่งจะมีการวิเคราะห์เชิงแนวโน้มขอผลที่จะตามมาโดยใช้สถิติจากข้อมูลที่มี และหาโอกาส และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
  3. Prescriptive analytics การวิเคราะห์นี้จะมีส่วนของ Predictive analytics ส่วนหนึ่ง แต่จะเพิ่มเติมส่วนของคำแนะนำเกี่ยวกับทางเลือกที่มี และผลที่จะตามมาของแต่ละทางเลือกได้ เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจซึ่งจะเป็นต้องใช้ข้อมูลที่มาก และหลายกหลายที่สุดเพื่อให้ผลมีความแม่นยำมากขึ้น

ทีนี้ เราจะประยุกต์ใช้ Big data ได้อย่างไรล่ะ

เชื่อว่าทุกธุรกิจ อยากจะใช้งาน Big data แต่การจะใช้งานเพื่อให้ได้คุณภาพ โดยสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ครับ

1. มีการวางแผนและรู้ว่าตนเองต้องการอะไร เพื่อให้สามารถออกแบบ big data และทำให้องค์กรมองเห็นเป้าหมายที่จะพัฒนาขึ้นมา และนำเป้าหมายนั้นไปวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

2. ใช้งานให้ตรงกับความต้องการที่อยากจะได้ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด โดยอาจจะอ้างอิงตามปัญหาที่พบ ให้ระบบสนับสนุนข้อมูลที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพได้มากยิ่งขึ้น

3. เข้าใจข้อมูลที่ตนเองมี และแหล่งที่มาของข้อมูล องค์กรจะต้องทราบว่าข้อมูลที่มี สามารถตอบโจทย์และน้ำไปใช้เพื่อวิเคราะห์เป้าหมายอยากจะทราบได้หรือไม่ หรือหากต้องการข้อมูลอื่นๆ ประกอบ จะสามารถหาได้จากแหล่งใด และแต่ละแหล่ง มีความน่าเชื่อถือมากน้อยขนาดไหน เนื่องจากข้อมูลนั้นๆ มีผลต่อผลลัพธ์ที่ออกมาซึ่งจะนำไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจ

4. การสนับสนุนการใช้งาน Big Data จำเป็นต้องได้รับความรวมมือจากหลายส่วน ให้สามารถดำเนินการ และพัฒนาการใช้งาน Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากทางองค์กร มองไม่เห็นว่า Big Data มีประโยชน์ อย่างไร การพัฒนาคงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

5. หาคนที่เหมาะสมกับการพัฒนา Big Data การเลือกคนและทีมงานที่เหมาะสม เพราะทีมที่พัฒนาจะต้องใช้ทักษะหลายหลาย ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลมากและหลายประเภท เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดออกมา ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถจริงๆ และข้อมูลจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามข้อมูลที่มากขึ้น ซึ่งหากเรามอบหมายงานให้กับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ หรือความสามารถแล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาจะไม่ได้ช่วยอะไรธุรกิจเลยและแถมยังทำให้ธุรกิจเดินผิดทางได้อีกด้วย

Reference

http://bigdataexperience.org/
https://www.aware.co.th/
https://www.coraline.co.th/
https://blog.goodfactory.co
https://bzinsight.wordpress.com
http://bigdataexperience.org

 

ฝากติดตาม blog อื่นๆใน Happioteam ด้วยครับ
blog.happioteam.com

Facebook Comments
Category