เรื่องพื้นฐานที่ธุรกิจมักพลาดใน “ตลาดพม่า”

Posted byHappio Team Posted onJune 12, 2019 Comments0
ตลาดพม่า

“ตลาดพม่า” ได้รับความสนใจ เป็นตลาดที่ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจและนักลงทุนมากมาย ด้วยความที่ประเทศยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก ทั้งจากจากทรัพยากรธรรมชาติ ปริมาณแรงงานภายในประเทศ อีกทั้งประชากรก็เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งในภาคธุรกิจถ้าใครสามารถเข้าไปทำ ตลาดพม่า ได้ก่อน ก็จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมหาศาล (คนพม่าใช้ของตามความเคยชิน ใช้อะไรดีก็ใช้อยู่อย่างนั้นครับ) ทำให้ธุรกิจต่างๆ ล้วนแต่ก็อยากบุก ตลาดพม่า แต่กว่า 8 ใน 10 ของธุรกิจที่บุกตลาดพม่า กลับล้มเหลว ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจล้มเหลวในการทำการตลาดมีปัจจัยหลากหลายแตกต่างกันไป แต่เรื่องที่ผมจะนำมาพูดในบทความนี้ จะเป็นเรื่องพื้นฐานในการทำการตลาดระหว่างประเทศ  นั้นก็คือ “เรื่องภาษาพม่า” แม้จะเป็นเรื่องพื้นฐานที่ไม่ควรพลาดก็จริง แต่แบรนด์ใหญ่ๆ ก็ตกม้าตายเพราะเรื่องภาษาพม่ามาหลายต่อหลายรายแล้วครับ ถ้าไม่อยากตกม้าตายเพราะเรื่องง่ายๆ ก็เชิญอ่านต่อได้เลยครับ

ทำไมถึงต้องสนใจเรื่องภาษาพม่า?

พม่ามีหลากหลายเชื้อชาติ และกลุ่มเผ่าพันธุ์ ทำให้ภาษาพม่ามีหลายระดับ พม่าที่อยู่ในไทยก็ใช้อีกแบบ พม่าที่อยู่ในประเทศพม่าก็ใช้อีกแบบ ซึ่งถ้าคนที่ไม่ชำนาญภาษาพม่าจริงๆ อาจจะเลือกใช้ไม่ถูกกับกลุ่มเป้าหมายก็เป็นไปได้ครับ  ซึ่งเหตุผลที่พลาดส่วนหนึ่งก็เพราะภาษาพม่าต้องมีคำสร้อย อยู่ทุกส่วนของประโยค ความร้ายคือ คำสร้อยพวกนี้ถึงแม้ไม่มีความหมาย แต่ไม่มีก็ไม่ได้เพราะจะทำให้ไม่เข้าใจความหมายที่จะสื่อ หรือบ้างครั้งก็เกิดจากการทำ Artwork แล้วสระตกหล่นและคนทำก็ไม่รู้ เพราะอักษรพม่าเป็นเหมือนเส้นๆ ต่อกันไปมา บางคนก็ดูไม่ออกว่าประโยคนี้มีกี่ตัว สุดท้ายแล้วผลกระทบก็ตกอยู่ที่ตัวธุรกิจที่อยากบุกตลาดพม่าเอง เพราะข้อความสุดเจ๋งที่คิดมาอย่างดี กลับสื่อไปไม่ถึงผู้บริโภค เพราะอ่านไม่รู้เรื่อง หรือขั้นแย่กว่าก็คือความหมายผิดเพี้ยนไปเลย

เราได้รวบรวมตัวอย่างคำผิดที่พบเจอจริงๆ มาให้ผู้อ่านได้เห็นตัวอย่างมากขึ้นครับ

ภาษาพม่าสะกดผิด
ตัวอย่าง ภาษาพม่าที่สะกดผิด

คำที่ถูกต้องพิมแบบนี้ครับ သည္ ซึ่งคำสร้อยนี้เป็นของคำว่าโทรศัพท์ ดังนั้นทำให้ประโยคอ่านแล้วไม่ต่อเนื่อง แต่ด้วยรูปแบบประโยคและภาพประกอบมีความชัดเจน ทำให้ยังสามารถเดาความหมายโดยรวมได้อยู่ครับ

  1. ေယာကၤ်ား ต้องแก้เป็น ယာက္်ား (คำที่ถูกต้องแปลว่าผู้ชายแต่ถ้าสะกดจะไม่มีความหมายอะไรเลย ซึ่งคำนี้คนพม่าเองอาจจะอ่านประโยคและเดาความหมายจากรูปประโยคได้)
  2.  ေၾကာ္ညာ ต้องแก้เป็น ေၾကာ္ျငာ (คำที่ถูกต้องแปลว่าโฆษณาแต่ถ้าสะกดผิดจะไม่มีความหมายอะไรเลย และก็เดาจากรูปประโยคไม่ออกด้วยครับ T^T)
  3. သဒၵါၾကည္ညိဳ ต้องแก้เป็น သဒၶါၾကည္ညိဳ (แปลว่าศรัทธาเลื่อมใส ส่วนคำที่เขียนผิดนี้จะแปลเป็นไวยากรณ์เชื่อถือ)
  4.  အခ်ိန္မွီ ต้องแก้เป็น အခ်ိန္မီ (แปลว่าทันเวลา ส่วนคำที่เขียนผิดนี้จะแปลเป็นนั่งพิงเวลา)

อันนี้เป็นหนึ่งในคำผิดที่เราสามารถพบคำผิดได้จากสื่อต่างๆ เลยครับ ซึ่งผู้บริโภคชาวพม่าเองเวลาเห็นภาษาของตนเอง สะกดผิดๆ ถูกๆ ก็ดูจะไม่ค่อยพอใจนัก (ซึ่งคนไทยก็เป็นเหมือนกันแหล่ะครับ ฮ่า ฮ่า) และก็ยังรู้สึกว่าแบรนด์นั้น ไม่ค่อยน่าเชื่อถือและดูไม่มืออาชีพ โดยวิธีแก้ไขปัญหานี้ก็คงต้องใช้ผู้เขียนที่เป็นเจ้าของภาษาจริงๆ และมีความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะทำการตลาด ระดับภาษา และแน่นอนต้องมีเวลาในการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อลดข้อผิดพลาดนะครับ

นอกจากการสะกดภาษาพม่าที่ผิดแล้ว ผมอยากฝากเกร็ดความรู้ในการทำการ ตลาดพม่า เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ เรื่องการใช้ Font ครับ  พม่าจะมีใช้ Font อยู่ 2 แบบ ชื่อ Zawgyi และ Unicode
คนส่วนใหญ่จะใช้ Zawgyi แต่รัฐบาลพม่าใช้ Unicode แล้วต้องการให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ Unicode ด้วยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันหมด (เพราะถ้าใช้ Zawgyi ก็จะอ่าน Content ที่เป็น Unicode ไม่ได้ ในทางกลับกัน ถ้าใช้ Unicode ก็จะอ่าน Zawgyi ไม่ได้เหมือนกันครับ) ซึ่งสำหรับคนที่พึ่งเริ่มทำการตลาดพม่า ผมก็แนะนำให้เริ่มใช้ Unicode นะครับ จะได้ไม่เกิดปัญหาในอนาคต เพราะตอนนี้หลายๆ เจ้าก็ค่อยๆ ทยอยเปลี่ยนมาใช้ Unicode แล้วครับ

ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ก็ติดตามไว้นะครับ เพราะตลาดพม่ามีข้อมูลที่เข้าถึงได้น้อยมาก ถ้ามีเวลาผมจะนำประสบการณ์การทำการตลาดพม่า มาแบ่งปันทุกคนอีกครับ หรืออยากให้ผมเขียนเรื่องไหนก็ติดต่อเข้ามานะครับ  ^^

ถ้าหากอยากจะเข้าใจแรงงานพม่ามากขึ้น ลองมาอ่านบทความ ประสบความสำเร็จด้วยแรงงานพม่า แรงงานที่เป็นมากกว่าแรงงาน

Facebook Comments
Category