จากสถิติของกรมแรงงาน แรงงานพม่า ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยและลงทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมีอยู่มากกว่า 1,500,000 คน

ซึ่งถ้ารวมแบบที่หลบๆ ซ่อนๆ อยู่อีก ก็น่าจะทะลุหลักสองล้านคน

จะเห็นว่าจำนวนพอๆ กับประชากรในบางจังหวัดเลย

ดูเผินๆ เหมือนว่า แรงงานพม่า จะกระจัดกระจายไปทำงานอยู่ทั่วประเทศ แต่คนเหล่านี้มักจะอยู่รวมกันเป็นชุมชน โดยมีเส้นทางอารยธรรมที่เริ่มจากด่านแม่สอด มารวมตัวเป็นชุมชนใหญ่ในโซนกรุงเทพและปริมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ จนถึงขนาดถูกขนานนามเป็นเมียนมาร์ทาวน์ คล้ายๆ กับย่านไชน่าทาวน์ในหลายๆ ประเทศ

จากโซนศูนย์กลางของประเทศก็ไหลลงมาทางใต้ตามแนวชายฝั่งที่มีการทำประมงลงไปจนถึงสุราษฎร์และระนอง

ต้องทำความเข้าใจเพิ่มอีกนิดว่า ประเทศพม่านั้นไม่ได้มีเค่เชื้อชาติพม่าเพียงอย่างเดียว แต่มีชนชาติอยู่หลากหลายมาก ตั้งแต่ชนชาติพม่าที่เยอะที่สุด มอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ ฯลฯ โดยแต่ละเผ่าจะอยู่กันเป็นชุมชนและยังคงวัฒนธรรมที่แข็งแรงของตัวเองเอาไว้ ซึ่งจากที่เคยเป็นแค่ลูกจ้าง บางคนก็ขยับมาเป็นเถ้าแก่ขายของกันในชุมชนเสียเอง

Myanmar People in Thailand

แล้วแรงงานพม่าเหล่านี้จะมีกำลังซื้อไหม?

ด้วยความขยันและอายุยังอยู่ในวัยฉกรรจ์ แรงงานพม่าเหล่านี้ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน สามารถมีรายได้ในแต่ละเดือนเป็นหลักหมื่น ส่งเงินกลับไปให้ที่บ้านเกิดเฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาทต่อคน ที่เหลือก็สามารถใช้ตอบสนองความต้องการของตัวเองได้เต็มที่ จะเห็นได้จากในวันอาทิตย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวันพักผ่อนวันเดียวของสัปดาห์ บางพื้นที่เช่น ตลาดนัดหรือห้างสรรพสินค้า (ลองไปสังเกตได้ตามอิมพีเรียลสำโรง บิ๊กซีมหาชัย เป็นต้น) แรงงานพม่าจะนัดกันไปผ่อนคลายกันอย่างเต็มที่

Myanmar People in Thailand 2

ปัจจุบัน มีแบรนด์ใหญ่ๆ ที่เริ่มลุยทำตลาดกับแรงงานพม่าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ทั้งสามค่าย DTAC, TRUE, AIS กลุ่มการเงินและธนาคาร เช่น Western Union, ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.กรุงเทพ, ธ.กรุงไทย สินค้าแฟชั่น เช่น Mac Jeans และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ยาสีฟัน Ioderm, เกลือแร่ Stronk-K นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเจ้าที่เล็งเห็นโอกาสแต่ยังหาทางเข้าไม่ได้

ซึ่งจริงๆ แล้วแรงงานพม่าก็มีมุมมองที่ดีต่อสินค้าไทย แต่ด้วยการที่เป็นพลเมืองชั้น 2 หรือบางครั้งความไม่รู้กฎหมาย ทำให้มักจะถูกเอาเปรียบจนเกิดความกลัวการลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

การเจาะตลาดกลุ่มนี้ ก็ต้องใช้ความจริงใจในการสื่อสาร และเข้าใจในความคิด ความเชื่อ และสถานการณ์ของแรงงานพม่า

ช่องทางการสื่อสารนั้น ก็ควรทำควบคู่กันไปทั้งทาง Offline โดยเน้นเรื่องการกระจายสินค้าให้ถึงชุมชน รวมทั้งการจัดกิจกรรมเป็นประจำตามเทศกาลต่างๆ และช่องทาง Online โดยเฉพาะ Facebook ซึ่งแรงงานพม่าเหล่านี้ใช้เสพทั้งข่าวสารและบันเทิงหนักไม่แพ้คนไทย ที่สำคัญคือการสื่อสารด้วยภาษาพม่า ก็จะได้ใจคนเหล่านี้ไปเต็มๆ

 

ฝากติดตาม blog อื่นๆใน Happioteam ด้วยครับ
blog.happioteam.com

Facebook Comments
สามารถติดต่อเรา เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับ
Marketing, Design, Web และ Application ได้ที่
  Call Us   Messenger

อัปเดตอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในประเทศพม่า ปี 2023 ปีนี้ใครมาแรงบ้าง

Uncovering Thailand’s CLMV Hospital Market through Medical Tourism

Marketing, Myanmar, Supplementary

Exploring the Best Channels and Key Factors in Purchasing Myanmar’s Supplementary Products

Beauty Market Insight in Laos

‘A Beautiful Chance of Thai Cosmetic Brands in Laos’ Discover the Laos Beauty Market’s Secrets

Myanmar Migrants: The Significant Opportunity for Pharmaceutical Industry in Thailand

How Do Myanmar Migrants Choose a Smartphone?