พื้นฐานความเข้าใจของการทำกิจกรรมการตลาดในประเทศเมียนมา

Posted byPatsakorn Thaveeuchukorn Posted onJune 25, 2019 Comments0
Merchandising myanmar

จากตอนที่แล้วที่เราพาไปสำรวจตลาดสด (wet market) ในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ตอนนี้ผมพาทุกท่านเรามาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Merchandising และ Activation ในประเทศพม่ากันเพิ่มเติมกัน เริ่มจากความเข้าใจในศัพท์พื้นฐานกันดังนี้

ศัพท์พื้นฐานในการทำ Merchandising คือ

  1. Shelf talker จะเป็นลักษณะ ที่นำสติ๊กเกอร์ไปแปะรอบๆ ชั้นวางสินค้า เพื่อที่จะเป็นตัวกำหนดขอบเขตที่จะวางสินค้ายี่ห้อนั้นๆ โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการเช่าเป็นรายเดือน ส่วนมากจะต้องคุยกับเจ้าของร้านค้าแต่ละรายเอง ซึ่งค่อนข้างจะยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง แต่เป็นวิธีที่ทำให้เห็นสินค้าได้ชัดเจน
  2. Shelf talker

    Hanging banner จะเป็นอุปกรณ์ที่แขวนอยู่หน้าร้านซึ่งจะมีป้ายแสดงราคาสินค้า โดยสินค้าที่นิยมก็จะเป็นสินค้าจำพวกที่เป็นซองเหมือนซองแชมพู (sachet) จุดที่เหมาะสมจะอยู่ที่หน้าร้านค้าในตลาดสด (wet market) อันนี้ก็จะต้องติดต่อกับร้าน และ YCDC ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการในการขออนุญาตเกี่ยวกับกิจกรรมการตลาด

  3. Hanging mobile จะเป็นลักษณะป้ายที่ห้อยตามตลาดสดต่างๆ จะเป็นป้ายวงกลม ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถทำได้ดีในลักษณะพื้นที่ที่เป็นช่วงทางเดินต่างๆ
  4. Banner ลักษณะเหมือนป้ายไวนิลทั่วๆ ไปแต่ขนาดที่ประเทศเมียนมาจะใช้หน่วยเป็นฟุต และนิ้ว (feet&inches) และมีโอกาสโดนแปะทับได้ค่อนข้างง่าย ต้องไปขออนุญาตจาก YCDC
  5. C-banner ลักษณะเหมือน banner ที่จะใส่ชื่อร้านค้าไปด้วย จะทำให้ร้านค้าเขามีความเป็นเจ้าของ และไม่อยากให้นำไวนิลของสินค้าอื่นๆ มาแปะทับ ทำให้ป้ายของเราอยู่ได้นานขึ้น
  6. Sunshade จะเป็นที่บังแดดหน้าร้านค้า แต่ก็สามารถตกแต่งได้เช่นกัน แต่ต้องคำนึงถึงการมองเห็นด้วย ดังนั้นจะแนะนำทำในจุดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตลาดสดเช่น ร้านค้า stand alone , ท่ารถ หรือร้านค้ารอบๆตลาดสด เป็นต้น

การทำ merchandising นั้นจะได้ประสิทธิภาพมากที่สุดก็ต่อเมื่อ เจ้าของสินค้าสามารถนำสินค้าไปวางในร้านค้าได้จำนวนพอสมควร โดยประมาณคือ 60 เปอร์เซ็นของร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าประเภทนั้นๆ ในแต่ละตลาด และทางผมแนะนำว่าก็ควรจะติดต่อกับร้านค้าโดยตรงเพื่อที่จะทำให้ถูกต้อง และไม่มีปัญหาตามมาในภายหลังกับทั้งทางร้านค้า และ YCDC

Hanging banner
C-banner

 

 

 

 

 


โดยส่วนมากเจ้าของผลิตภัณฑ์มักจะมองข้ามการทำ brand merchandising ไปเนื่องจากว่า ทางเจ้าของสินค้าส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าว่างานส่วนนี้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ distributor แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในประเทศพม่าไม่ตรงกับความเข้าใจของเจ้าของสินค้า ดังนั้นเจ้าของผลิตภัณฑ์จึงไม่ควรที่จะมองข้ามในจุดนี้ไป ซึ่ง brand merchandising จะช่วยส่งเสริมการทำงานของทีม distributor รวมถึงช่วยสร้างภาพลักษณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างสินค้า และร้านค้าได้เป็นอย่างดี

ทางบริษัท แฮปปิโอ้ จำกัด มีบริการการตลาด ในทั่วประเทศพม่า ไม่ใช่เฉพาะเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น เพราะประเทศเมียนมา ไม่ใช่เมืองย่างกุ้ง ดังนั้นการทำตลาดในต่างจังหวัดของประเทศพม่ามีความสำคัญมากๆ และจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้สินค้าและบริการนั้นๆประสบความสำเร็จในตลาดประเทศเมียนมาในระยะยาว

Contributors
ภัสกร ทวีอุชุกร Myanmar@happioteam.com

Facebook Comments
Category