พฤติกรรมการจับจ่ายของคนเมียนมาในตลาดสด ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา

Posted byPatsakorn Thaveeuchukorn Posted onFebruary 22, 2019 Comments0
ประเทศเมียนมา

พฤติกรรมการจับจ่ายของคนเมียนมาในตลาดสดที่ ประเทศเมียนมา (Myanmar)

ผมได้มีโอกาสไปสำรวจตลาดสดในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ซึ่งคำศัพท์ภาษาอังกฤษของคำว่าตลาดสดที่คนทั่วไปใช้คือ Wet Market พฤติกรรมการจับจ่าย ส่วนมากจะเป็นหน้าที่ของผู้หญิง หรือแม่บ้าน ที่ตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อทำอาหารเตรียมไว้ให้กับครอบครัว สำหรับที่จะนำไปรับประทานในที่ทำงาน เช่น ทำสวน, ทำไร่, ทำนา, พนักงานบริษัท และหน่วยงานราชการเป็นต้น  หลังจากทำอาหารเสร็จก็จะทำความสะอาดบ้าน และออกไปตลาดสดเพื่อจับจ่ายใช้สอย ซื้ออาหารสด เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ เพื่อนำไปประกอบอาหารต่อไป

ประเทศเมียนมา
ภาพตลาด Sanpya Market, Yangon

ตลาดสดในเมียนมา มีอยู่ 2 แบบ คือตลาดเช้า(Wet market) และตลาดเย็น (Night market)  ซึ่งแบ่งกันที่เวลาเปิดปิดตลาด ที่แตกต่างกันไปโดยตลาดเช้าส่วนมากจะเปิดตั้งแต่ตี 5 ไปจนถึง 4 โมงเย็น และตลาดเย็นจะเปิดตั้งแต่เวลา เที่ยงวัน ถึง 2 ทุ่ม ซึ่งพฤติกรรมการจับจ่ายก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้ ตลาดเช้าจะเน้นไปที่ของสดเพื่อนำไปประกอบอาหาร ส่วนตลาดเย็นจะซื้อของใช้อื่นๆ เช่น เครื่องปรุงรส อาหารแห้งต่างๆ

ตลาดสดในเมืองย่างกุ้ง จะมีเจ้าของคือรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของตลาด ถ้าจะทำกิจกรรมอะไรก็จะต้องไปขออนุญาตเจ้าหน้าที่ และจะมีกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวดในการทำกิจกรรม สำหรับกิจกรรมที่ทำได้ในตลาดสดก็คือ เดินทรูป และตั้งเต้นท์ออกบูท สำหรับกิจกรรมชงชิม เป็นต้น แต่เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการทำกิจกรรม โดยกิจกรรมั้งหมดจะถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้ให้สำหรับการทำกิจกรรม (Promotion area) เท่านั้น ซึ่งในแต่ละตลาดก็จะมีการจัดพื้นที่ในส่วนนี้ไม่เหมือนกัน

ภาพ Promotion area Nandawin market, Yangon
ภาพ Promotion area, Mingalardorn Market, Yangon

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประเทศเมียนมา
ภาพสำนักงานตลาด Yadanar Theingi Market, Yangon

มาดูด้านพฤติกรรมการจับจ่าย อย่างแรกที่ผมสังเกตเห็น และต้องไปหาคำตอบคือ ทำไมร้านขายน้ำมัน ถึงขายคู่กับข้าวสาร จากข้อมูลที่ได้ศึกษามาก็คือ ข้าวสาร และน้ำมัน เป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาหาร เวลาคนเมียนมามาจับจ่ายซื้อของ ก็จะซื้อสินค้าทั้ง 2 อย่างคู่กัน แต่บางคนก็ชอบที่จะไปซื้อร้านที่ใกล้ๆและคุ้นเคยกับแม่ค้าซึ่งมีสินค้าหลากหลาย และครบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ข้าวสาร น้ำมัน น้ำปลา เครื่องปรุงรส อาหารสดต่างๆ โดยบางร้านมีระบบการให้สินเชื่อแก่คนซื้อด้วย

อย่างที่ 2 ที่สังเกตได้คือ ถ้าไปซื้อของสด ก็จะไม่ได้ซื้อของแห้ง หรือเครื่องปรุงต่าง ทั้งๆ ที่บริเวณตลาดขายของแห้ง กับขายของสดอยู่ติดกันเลย ถ้าเป็นตลาดเช้า ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารสด แต่ถ้าตลาดเย็น ส่วนใหญ่จะขายอาหารแห้ง และเครื่องปรุงต่าง ๆ

ภาพร้านค้าในตลาด Yadanar Theingi Market, Yangon
ภาพร้านค้าในตลาด Mingaladorn Market, Yangon

สินค้าที่อยู่ในตลาดสด ในย่างกุ้งนั้นก็จะมีความหลากหลายของสินค้า ซึ่งมีทั้งผลิตภัฑณ์ที่เป็นยี่ห้อของเมียนมา รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น รวมถึงสินค้าแบรนด์ระดับโลกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้าส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น อาหารกระป๋อง เครื่องปรุงรส สินค้าอุปโภคต่างๆ สิ่งที่เป็นโอกาสของสินค้าไทยคือ คุณภาพ และความเชื่อมั่นของลูกค้า ถ้าเป็นสินค้าที่กำลังอยู่ในช่วงเพิ่งเข้าตลาด หรือขยายตลาด แนะนำให้ทำกิจกรรมที่ให้คนเมียนมา เกิดการทดลองใช้ ลองชิม หรือการพิสูจน์คุณภาพสินค้า และทำให้ผู้บริโภคเป็นคนบอกเองว่าสินค้านี้ดีมีคุณภาพ เพราะส่วนใหญ่แล้วการที่จะโน้มน้าวให้ชาวเมียนมาเปลี่ยนมาใช้สินค้าทดแทนอย่างอื่นค่อนข้างยาก ดังนั้นการทดลองใช้ และการสื่อสารมีความสำคัญมากในการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำตลาดที่ประเทศเมียนมา

ภาพสินค้าในตลาด
ภาพสินค้าbrand ต่างๆ
ร้านค้าในตลาดประเทศเมียนมา, Yangon

สุดท้ายนี้ยังเห็นได้ว่าตลาดสดยังเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่เป็นที่นิยมของชาวเมียนมา ดังนั้นสินค้าและบริการบางอย่าง ไม่ควรจะมองข้ามการทำการสื่อสาร และการตลาดในช่องทางตลาดสด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการที่จะทำการตลาดในส่วนนี้ให้ประสบความสำเร็จ จะต้องประกอบด้วย 3 สิ่งคือ หนึ่งช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแรง (distribution network) สองการมองเห็นสินค้าในตลาด (Visibility) และสามการทำโปรโมชั่นและโปรโมทสินค้า (Activation) ถ้าสนใจทำการตลาดในประเทศพม่า ติดต่อได้ที่บริษัท แฮปปิโอ้ จำกัด

ผู้เรียบเรียง ภัสกร ทวีอุชุกร Consultant (Myanmar specialist)
สามารถติดต่อได้ที่ email : Myanmar@happioteam.com

ฝากติดตาม blog อื่นๆใน Happioteam ด้วยครับ
blog.happioteam.com

Facebook Comments
Category