แรงงานพม่า ในเมืองไทย: ตลาดที่น่าสนใจ แต่แบรนด์ไทยมักมองข้าม

Posted byHappio Team Posted onJuly 3, 2018 Comments0
แรงงานพม่า

จากสถิติของกรมแรงงาน แรงงานพม่า ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยและลงทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมีอยู่มากกว่า 1,500,000 คน

ซึ่งถ้ารวมแบบที่หลบๆ ซ่อนๆ อยู่อีก ก็น่าจะทะลุหลักสองล้านคน

จะเห็นว่าจำนวนพอๆ กับประชากรในบางจังหวัดเลย

ดูเผินๆ เหมือนว่า แรงงานพม่า จะกระจัดกระจายไปทำงานอยู่ทั่วประเทศ แต่คนเหล่านี้มักจะอยู่รวมกันเป็นชุมชน โดยมีเส้นทางอารยธรรมที่เริ่มจากด่านแม่สอด มารวมตัวเป็นชุมชนใหญ่ในโซนกรุงเทพและปริมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ จนถึงขนาดถูกขนานนามเป็นเมียนมาร์ทาวน์ คล้ายๆ กับย่านไชน่าทาวน์ในหลายๆ ประเทศ

จากโซนศูนย์กลางของประเทศก็ไหลลงมาทางใต้ตามแนวชายฝั่งที่มีการทำประมงลงไปจนถึงสุราษฎร์และระนอง

ต้องทำความเข้าใจเพิ่มอีกนิดว่า ประเทศพม่านั้นไม่ได้มีเค่เชื้อชาติพม่าเพียงอย่างเดียว แต่มีชนชาติอยู่หลากหลายมาก ตั้งแต่ชนชาติพม่าที่เยอะที่สุด มอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ ฯลฯ โดยแต่ละเผ่าจะอยู่กันเป็นชุมชนและยังคงวัฒนธรรมที่แข็งแรงของตัวเองเอาไว้ ซึ่งจากที่เคยเป็นแค่ลูกจ้าง บางคนก็ขยับมาเป็นเถ้าแก่ขายของกันในชุมชนเสียเอง

Myanmar People in Thailand

แล้วแรงงานพม่าเหล่านี้จะมีกำลังซื้อไหม?

ด้วยความขยันและอายุยังอยู่ในวัยฉกรรจ์ แรงงานพม่าเหล่านี้ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน สามารถมีรายได้ในแต่ละเดือนเป็นหลักหมื่น ส่งเงินกลับไปให้ที่บ้านเกิดเฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาทต่อคน ที่เหลือก็สามารถใช้ตอบสนองความต้องการของตัวเองได้เต็มที่ จะเห็นได้จากในวันอาทิตย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวันพักผ่อนวันเดียวของสัปดาห์ บางพื้นที่เช่น ตลาดนัดหรือห้างสรรพสินค้า (ลองไปสังเกตได้ตามอิมพีเรียลสำโรง บิ๊กซีมหาชัย เป็นต้น) แรงงานพม่าจะนัดกันไปผ่อนคลายกันอย่างเต็มที่

Myanmar People in Thailand 2

ปัจจุบัน มีแบรนด์ใหญ่ๆ ที่เริ่มลุยทำตลาดกับแรงงานพม่าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ทั้งสามค่าย DTAC, TRUE, AIS กลุ่มการเงินและธนาคาร เช่น Western Union, ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.กรุงเทพ, ธ.กรุงไทย สินค้าแฟชั่น เช่น Mac Jeans และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ยาสีฟัน Ioderm, เกลือแร่ Stronk-K นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเจ้าที่เล็งเห็นโอกาสแต่ยังหาทางเข้าไม่ได้

ซึ่งจริงๆ แล้วแรงงานพม่าก็มีมุมมองที่ดีต่อสินค้าไทย แต่ด้วยการที่เป็นพลเมืองชั้น 2 หรือบางครั้งความไม่รู้กฎหมาย ทำให้มักจะถูกเอาเปรียบจนเกิดความกลัวการลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

การเจาะตลาดกลุ่มนี้ ก็ต้องใช้ความจริงใจในการสื่อสาร และเข้าใจในความคิด ความเชื่อ และสถานการณ์ของแรงงานพม่า

ช่องทางการสื่อสารนั้น ก็ควรทำควบคู่กันไปทั้งทาง Offline โดยเน้นเรื่องการกระจายสินค้าให้ถึงชุมชน รวมทั้งการจัดกิจกรรมเป็นประจำตามเทศกาลต่างๆ และช่องทาง Online โดยเฉพาะ Facebook ซึ่งแรงงานพม่าเหล่านี้ใช้เสพทั้งข่าวสารและบันเทิงหนักไม่แพ้คนไทย ที่สำคัญคือการสื่อสารด้วยภาษาพม่า ก็จะได้ใจคนเหล่านี้ไปเต็มๆ

 

ฝากติดตาม blog อื่นๆใน Happioteam ด้วยครับ
blog.happioteam.com

Facebook Comments
Category